รู้หรือไม่ว่าคดีลักทรัพย์ไม่สามารถยอมความได้

law dee 11

เมื่อพูดถึงคดีความหลายคนคงไม่มีใครอยากที่จะเจอ หรือคงไม่อยากจะมีคดีติดตัว แต่เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะทำตัวหรือวางตัวอย่างไรในสังคม ในสังคมปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับการลักทรัพย์อยู่มากจนกลายเป็นปัญหาของสังคมไปโดยสิ้นเชิงแต่มีอยู่ข่าวหนึ่งที่ทำให้ หลายคนที่ได้อ่านหรือรับรู้ข่าวสารต้องตกใจ เมื่อผู้เป็นแม่แจ้งจับลูกชายแท้ๆของตัวเอง ผู้เป็นแม่มีอายุ 35 ปี ส่วนลูกชายนั้นมีอายุ 18 ปี ขึ้นแจ้งความและขอร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยจับกุมตัวลูกชายเพื่อมาดำเนินคดี เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่บ้านของเธอเอง เธอบอกว่าลูกชายของเธอนั้นขโมยสร้อยคอทองคำมูลค่า 1 บาทของเธอไป และอาศัยช่วงเวลาที่เธอนอนหลับนั้นเอง เอาทองที่คอไปเมื่อเธอตื่นขึ้นมาและพบว่าสร้อยคอทองคำนั้นไม่อยู่จึงโกรธและโมโหอย่างมาก จึงได้รีบเข้าแจ้งความเพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีตามคำร้องเรียนของผู้เป็นแม่ดำเนินการ จับตัวลูกชายของเขามา หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่นำตัวเด็กมาเจอกับผู้เป็นแม่เพื่อพูดคุยหรือเจรจากัน ก่อนที่จะลงบันทึกประจำวันเพื่อดำเนินคดี ด้วยความโกรธลูกชายอย่างมากจึงบอกให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดี ลูกชายจะได้ไปดัดนิสัยที่สถานพินิจเด็กและเยาวชน ในเวลาต่อมาหลังจากจับลูกชายของเธอไปได้ 2 เดือน เธอมาหาเจ้าหน้าที่อีกครั้งแต่ ทุกอย่างนั้นสายเกินกว่าจะแก้ไข คดีลักทรัพย์ ถ้าหากเจ้าหน้าที่ส่งสำนวนไปที่ศาลแล้วนั้นไม่สามารถยอมความได้ เพราะคดีลักทรัพย์คือความผิดทางอาญาต่อแผ่นดิน อีกอย่างคือเรื่องส่งฟ้องศาลไปแล้ว ผู้เป็นแม่อย่างมากเธอทำได้แค่เพียงเสียใจและรอเพียงคำตัดสินของลูกชาย ถ้าหากพูดถึงเรื่องของกฎหมายแล้ว หากเป็นคดีลักทรัพย์เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็น พี่-น้อง ลูก หลาน เหลน ยังไงก็ไม่สามารถยอมความกันได้เลย ถือว่าเป็นเรื่องและความผิดที่ร้ายแรงต่อสังคมอย่างมาก ในสังคมปัจจุบันถึงแม้ตอนนี้ยังมีปัญหาเรื่องนี้อยู่มาก แต่เชื่อเหลือเกินว่าอนาคตปัญหาเรื่องลักเล็กขโมยน้อยต้องหมดไปจากสังคมไทยอย่างแน่นอน